มิติสังคม

มิติสังคม

นโยบายและแนวปฏิบัติด้านสังคม

นโยบายความรับผิดชอบต่อสังคมและชุมชน (Corporate Social Responsibility)

บริษัท สหวิริยาสตีลอินดัสตรี จำกัด (มหาชน) หรือ เอสเอสไอ มีนโยบายดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมโดยยึดตามปรัชญาในการดำเนินธุรกิจและจริยธรรมธุรกิจซึ่งได้หล่อหลอมเป็นวิถีแห่งการผลักดัน ขับเคลื่อน พัฒนาและเติบโตอย่างยั่งยืน โดยถือมั่นเสมอมาว่าบริษัทเป็นส่วนหนึ่งของสังคม และการเปลี่ยนแปลงของสังคมย่อมกระทบต่อบริษัท จึงถือเป็นหน้าที่และความรับผิดชอบที่จะต้องร่วมกันพัฒนาทั้งธุรกิจของบริษัทและสังคมควบคู่กันไป โดยเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อช่วยกันสร้างสรรค์สังคม รวมทั้งดูแลรักษา พัฒนา และอนุรักษ์สภาพแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง

ผลการดำเนินงานด้านสังคม

การบริหารงานบุคคล

1. การวางแผนกำลังคน (Workforce Planning)
ในปี 2565 มีการบริหารกลยุทธ์การวางแผนอัตรากำลัง และปรับปรุงโครงสร้างองค์กรและหน้าที่ของหน่วยงานเพื่อให้รองรับการเติบโตของกลุ่มบริษัท รวมถึงมีการปรับปรุงกระบวนการสรรหาเพื่อให้ได้บุคลากรที่สอดคล้องกับแผนการเติบโตทางธุรกิจของบริษัท นอกจากการวางแผนกำลังคนโดยการจ้างงานแล้ว บริษัทได้สนับสนุนโครงการส่งเสริมการจ้างงานคนพิการเชิงสังคม ตามมาตรา 35 ประเภทจ้างเหมาบริการ กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน ดำเนินการจ้างงานคนพิการภายใต้โครงการดังกล่าว จำนวน 10 คน ในการงานสนับสนุนในหน่วยบริการสาธารณประโยชน์ในพื้นที่ชุมชนใกล้บ้านผู้พิการ เช่น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โรงเรียน/ศูนย์เด็กเล็ก ศูนย์ฟื้นฟูอาชีพคนพิการ ศูนย์บริการคนพิการของเทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบลทั่วประเทศ โครงการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างโอกาสให้คนพิการมีงานทำ เกิดรายได้เลี้ยงดูครอบครัว พร้อมกับยกระดับคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น สามารถพึ่งพาตนเองได้และลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม
2. การพัฒนาศักยภาพบุคลากร (Employee Development)
บริษัทมีกระบวนการพัฒนาศักยภาพบุคลากรให้สอดรับกับตำแหน่งงานในแต่ละระดับที่สามารถสนับสนุนแผนการเติบโตทางธุรกิจ บริษัทมีนโยบายจัดการฝึกอบรมอย่างต่อเนื่องให้กับพนักงานทุกระดับ เพื่อพัฒนาพนักงานตามความสามารถ (Competency) ที่พนักงานจำเป็นต้องมีในการฝึกอบรมของพนักงาน (Training Need) และหลักสูตรตามที่กฎหมายกำหนด อาทิ

   1.หลักสูตรด้านการจัดการ
   2.หลักสูตรด้านพฤติกรรมในการทำงาน
   3.หลักสูตรด้านเทคนิคในการทำงานเฉพาะ
   4.หลักสูตรด้านการเพิ่มผลผลิต
   5.หลักสูตรด้านคุณภาพ
   6.หลักสูตรด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม

นอกจากนี้ บริษัทได้จัดฝึกอบรมหลักสูตรที่สำคัญเพิ่มเติม ได้แก่
   1.หลักสูตรเทคนิคการสอนงานอย่างถูกวิธีตามแนวทางการฝึกอบรมในอุตสาหกรรม (Master Trainer) จำนวน 2 รุ่นซึ่งหลักสูตรนี้ได้สร้างวิทยากรภายในจำนวน 15 คน เพื่อมาถ่ายทอดความรู้ให้กับพนักงานขององค์กร
   2.หลักสูตรด้านการบริหารจัดการ อาทิ School of Management Course 300 Series, School of Business
   3.หลักสูตรด้านการพัฒนาความรู้และทักษะให้สอดคล้องกับทิศทางและเป้าหมายธุรกิจ อาทิ การออกแบบและจัดทำ Course Outline ฝึกอบรมภายในองค์กรให้สอดคล้องกับการพัฒนาความรู้และทักษะตาม Training Road Map

   ในปี 2565 บริษัทได้ดำเนินการจัดฝึกอบรมภายในให้กับพนักงาน จำนวน 114 หลักสูตร (192 ครั้ง) โดยมีจำนวนชั่วโมงอบรมหรือกิจกรรมพัฒนาความรู้เฉลี่ยของพนักงาน 22.02 ชั่วโมงต่อคนต่อปี จากเป้าหมาย 15 ชั่วโมงต่อคนต่อปี
   นอกจากการจัดฝึกอบรมภายในบริษัท บริษัทได้ส่งเสริมพนักงานเข้ารับการฝึกอบรมภายนอกกับสถาบันต่างๆ ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ เพื่อเพิ่มพูนความรู้ความสามารถ และประสบการณ์ใหม่ๆ ให้พนักงานนำมาใช้ปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงมีการจัดให้พนักงานไปศึกษาดูงานกับบริษัทชั้นนำที่ประสบความสำเร็จในการดำเนินงานด้านต่างๆ ทั้งในอุตสาหกรรมเดียวกันและต่างอุตสาหกรรม
3. การมุ่งเน้นการค่านิยม วัฒนธรรมองค์กร และสร้างความผูกพันในองค์กร(Embed Corporate Culture and Increase Employee Engagement) มุ่งเน้นการเสริมสร้างความผูกพันในองค์กรผ่านการนำเสนอ และจัดกิจกรรมให้พนักงานตระหนักถึงค่านิยมของบริษัท อันนำไปสู่วัฒนธรรมและพฤติกรรมในการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพนปี 2565 ผลสำรวจระดับความผูกพันของพนักงานต่อองค์กรเท่ากับร้อยละ 81.06 เพิ่มขึ้นจากปี 2564 ร้อยละ 78.05
4. ความหลากหลายในบริษัท (Diversity and Equal Opportunity)บริษัทมีพนักงานที่มีความหลากหลาย ทั้งทางด้าน เชื้อชาติ เพศ และอายุ ความหลากหลายนี้ช่วยให้สามารถตอบสนองความต้องการที่แตกต่างของผู้มีส่วนได้เสีย และลักษณะธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงได้อย่างสร้างสรรค์ โดยบริษัทได้กำหนดคุณสมบัติในการสรรหาและการพัฒนาทรัพยากรบุคคล เพื่อเตรียมความพร้อมในการเติบโตในสายอาชีพอย่างเท่าเทียม
5. การดูแลพนักงาน (Employee Well-being) บริษัทมีคณะกรรมการสวัสดิการโดยสรรหาด้วยวิธีเลือกตั้งตัวแทน จากพนักงาน เพื่อให้สามารถแสดงความคิดเห็นได้อย่างเท่าเทียม ปัจจุบันมีพนักงานเข้าร่วมเป็นตัวแทนจำนวน 21 คน

ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน  

บริษัทได้ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการและพัฒนางานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานอย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งให้พนักงานเกิดความตระหนักและเห็นถึงความสำคัญในการดูแลตนเองและเพื่อนร่วมงานให้ทำงานอย่างปลอดภัยไม่เกิดอุบัติเหตุจากการทำงานผ่านกิจกรรมต่างๆ อาทิ

1.กิจกรรมด้านความปลอดภัย  

เช่น การรณรงค์ลดอุบัติเหตุจากการทำงาน (Zero  Accident Campaign) โครงการจิตอาสาสร้างวินัยและวัฒนธรรมความปลอดภัย สิ่งแวดล้อม (BBS) การตรวจสอบพื้นที่การปฏิบัติงาน (Safety Patrol) การเฝ้าระวังสุขภาพพนักงานอันเนื่องจากการสัมผัสปัจจัยเสี่ยงจากการทำงาน โดยมีคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน กำกับดูแล ตรวจสอบความปลอดภัย และเสนอแนะมาตรการ ในการปรับปรุงด้านความปลอดภัยในทุกพื้นที่ ภายใต้การสนับสนุนอย่างดีจากทุกหน่วยงาน

2.การฝึกอบรมด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน  

ในปี 2565 บริษัทมีการฝึกอบรมด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน จำนวน 40 หลักสูตร นอกจากนี้ ได้มีการทบทวนมาตรฐานการทำงานของทุกกิจกรรม เพื่อให้มั่นใจว่ามี  ความทันสมัย ควบคุมอันตรายได้ และผู้ปฏิบัติงานสามารถปฏิบัติได้จริงตามที่กำหนดไว้

3.การฝึกอบรมป้องกันอัคคีภัยและกู้ภัยฉุกเฉิน   

ในปี 2565 บริษัทได้จัดฝึกซ้อมสถานการณ์จำลองการตอบสนองเหตุฉุกเฉินในแต่ละพื้นที่ทั้งหมด 24 ครั้ง  มีพนักงานในบริษัทได้รับการฝึกอบรมดับเพลิงขั้นต้นตามกฎหมายเท่ากับร้อยละ 70

จากการดำเนินงานกิจกรรดังกล่าวส่งผลห้ นปี 2565 บริษัทีค่าอัตราควาถี่การบาดเจ็บถึงขั้นหยุดงานต่อหนึ่งล้านชั่วโงการทำงานเท่ากับ 0 ซึ่งเป็นค่าสถิติที่ดีาก ติดต่อกันเป็นปีที่ 4 สำหรับภาพรวของกลุ่เหล็กสหวิริยาีค่า LTIFR อยู่ที่ 1.49 เพิ่ขึ้นจากปีที่แล้วเดิอยู่ที่ 0.74 ซึ่งเป็นผลาจากพนักงานของบริษัทอื่นๆ นกลุ่เหล็กสหวิริยา ีพนักงานบาดเจ็บ  ถึงขั้นหยุดงาน โดยพนักงานที่บาดเจ็บได้รับการรักษาและสาารถกลับาทำงานได้ตาปกติแล้ว ทั้งนี้ ผู้บริหารของ กลุ่เหล็กสหวิริยายังคงสนับสนุนการรณรงค์ลดอุบัติเหตุนการทำงาน และการปลูกฝังห้พนักงานีควาตระหนัก ด้านควาปลอดภัยนการทำงานอย่างจริงจัง และปรับปรุงห้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ค่าอัตราควาถี่การบาดเจ็บถึงขั้นหยุดงานต่อหนึ่งล้านชั่วโงการทำงานกลุ่เหล็กสหวิริยา

LTIFR = (จำนวนรายที่บาดเจ็บถึงขั้นหยุดงานหนึ่งวันขึ้นไป x 1,000,000) / ชั่วโมงการทำงานทั้งหมด *ข้อมูล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2565

การค้าด้วยความเป็นธรรม  

บริษัทตระหนักถึงการปฏิบัติต่อคู่แข่งขันทางการค้าอย่างเป็นธรรม โดยปฏิบัติตามข้อกฎหมายของภาครัฐ เช่น พระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560 พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ 2542 ประกอบกับบริษัทจะไม่แสวงหาข้อมูลที่เป็นความลับของคู่แข่งทางการค้าด้วยวิธีที่ไม่สุจริตหรือไม่เหมาะสม และไม่ทำลายชื่อเสียงของคู่แข่งทางการค้าด้วยการกล่าวหาในทางร้าย รวมถึงร่วมกันดำเนินการผลักดันนโยบายที่เป็นประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมร่วมกัน

นอกจากนี้ บริษัทได้เป็นแกนนำของสมาคมเหล็กแผ่นรีดร้อนไทย โดยผู้บริหารของบริษัท ผู้บริหารของคู่แข่งทางการค้า และผู้บริหารของคู่ค้าได้เข้าร่วมเป็นกรรมการ โดยจัดประชุมและมีกิจกรรมร่วมกันอย่างสม่ำเสมอ มีการพบปะสังสรรค์กับผู้บริหารของคู่แข่งทางการค้า เพื่อกระชับและเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีต่อกัน รวมถึงการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ส่งเสริม และผลักดันนโยบายการค้าและการแข่งขันที่เป็นธรรมผ่านหน่วยงานภาครัฐ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อีกทั้ง บริษัทเป็น แกนนำในการสร้างความร่วมมือกันของกลุ่มสมาคมผู้ผลิตเหล็กในประเทศรวม 9 สมาคม (เพิ่มความร่วมมือจากเดิมที่มี 7 สมาคม) ซึ่งมีสมาชิกรวมกัน 516 บริษัท เพื่อสร้างความเข้มแข็งของผู้ผลิตเหล็กในประเทศในการร่วมผลักดันนโยบายภาครัฐ โดยล่าสุดได้ผลักดันการแก้ไขและได้มีการบังคับใช้พรบ. การตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุนซึ่งสินค้าจากต่างประเทศ.. 2562 ให้มีการเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยเรื่องการตอบโต้การหลบเลี่ยงมาตรการทางการค้า โดยมีผลบังคับใช้เมื่อเดือน พ.. 2563   

 รวมถึงผลักดันให้มีการจัดทำอนุบัญญัติที่เกี่ยวข้องทั้งประกาศกระทรวงพาณิชย์ และประกาศกรมการค้าต่างประเทศ เพื่อส่งเสริมให้เกิดการดำเนินธุรกิจที่เป็นธรรมจากภายนอกประเทศมากยิ่งขึ้นให้กับอุตสาหกรรมเหล็ก รวมถึงอุตสาหกรรมอื่นๆ ซึ่งจะส่งผลต่อภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศในภาพรวมอีกทั้ง บริษัทได้ส่งผู้แทนเข้าร่วมเป็นผู้บริหารใน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และผู้บริหารในกลุ่มอุตสาหกรรมเหล็ก สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เพื่อผลักดันนโยบายสนับสนุนอุตสาหกรรมเหล็กในประเทศเช่น  สนับสนุนนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ  โดยร่วมผลักดันนโยบาย ในคณะกรรมการกำกับการขึ้นทะเบียนพัสดุที่ผลิตในประเทศ และการออกใบรับรองสินค้า Made in  Thailand และพัฒนาไปสู่อุตสาหกรรมเหล็ก 4.0 ด้วย 

การดำเนินงานกิจกรรมด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน  

บริษัทมุ่งมั่นพัฒนาสังคมและชุมชนตามแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) โดยนำหลักการเศรษฐกิจพอเพียง โมเดลเศรษฐกิจใหม่ BCG มาบูรณาการให้เข้ากับ การดำเนินกิจกรรมขององค์กร เพื่อให้เกิดความสมดุลและประโยชน์ต่อเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เกิดคุณค่าร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียและความแข็งแกร่งอย่างยั่งยืน บริษัทได้แบ่งการดำเนินการออกเป็น 3 ส่วน ประกอบด้วย

1.การส่งเสริมความรู้ด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยได้ดำเนินโครงการ SD School เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ให้กับพนักงานในเรื่อง การดำเนินงานด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน และการประยุกต์ใช้แนวทางการดำเนินงานด้านความยั่งยืนเข้าสู่ การดำเนินธุรกิจ

2.การพัฒนาทุนทางสังคม เพื่อมุ่งส่งเสริมการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับสังคม พัฒนายกระดับทุนทางสังคมให้ผู้มีส่วนได้เสียเข้าถึงอย่างเท่าเทียม โดยได้ดำเนินการประกอบด้วย

  1. การร่วมป้องกันแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ด้วยโครงการความร่วมมือ Save Bangsaphan  โดยร่วมมือกับภาครัฐและเครือข่ายที่เกี่ยวข้องในการร่วมป้องกันและแก้ปัญหา  การสนับสนุนอุปกรณ์ป้องกัน การสนับสนุนการสื่อสารเพื่อป้องกันภัย
  2. การสนับสนุนด้านกีฬา โดยร่วมสนับสนุนสโมสรฟุตบอลพีทีประจวบเอฟซี เพื่อส่งเสริมด้านกีฬาในพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และเป็นตัวอย่างที่ดีให้แก่เยาวชนในการออกกำลังกาย
  3. ความรับผิดชอบต่อสังคม เพื่อส่งเสริมให้ผู้ด้อยโอกาสในสังคมได้มีคุณภาพชีวิตที่ดี และมีโอกาสในการพัฒนาศักยภาพอย่างเข้มแข็ง ด้วยการดำเนินโครงการเดิน-วิ่งการกุศลฅนเหล็กมินิมาราธอน และร่วมสนับสนุนมอบอุปกรณ์กีฬา-ทุนการศึกษาโครงการเติมสุขแก่น้องชายแดน

3.การพัฒนาชุมชน บริษัทมีความมุ่งหวังที่จะสร้างความแข็งแกร่งให้กับชุมชนและสังคมในการดำเนินชีวิต จึงได้ร่วมพัฒนาชุมชนโดยมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน ทั้งบริษัท พนักงาน ประชาชนในชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องใน   ด้านการพัฒนาการศึกษา การส่งเสริมดูแลและรักษาสิ่งแวดล้อม การพัฒนาอาชีพและรายได้ การร่วมดูแล ทำนุบำรุงศาสนาและวัฒนธรรม  และได้ดำเนินโครงการต่างๆ เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาอำเภอบางสะพานให้ก้าวหน้าใน 3 มิ คือ สังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม โดยมีการดำเนินงาน