“เหล็ก…วัสดุแห่งความยั่งยืน หมุนวนใช้ได้ไม่รู้จบ”

ถ้าให้นึกถึงสิ่งที่สามารถใช้บ่อย ใช้ซ้ำ ใช้ได้ดี และรีไซเคิลได้…คุณนึกถึงอะไรเป็นอันดับแรก…อ๊ะ!! อย่าบอกว่าเงินนะ เพราะเงินน่ะใช้บ่อย ใช้ซ้ำ ใช้ได้ดีน่ะใช่! แต่รีไซเคิลได้หรือเปล่านี่ไม่แน่ใจ?…
แต่แอดขอชูมือตอบก่อนเลยว่าสิ่งนั้นคือ “เหล็ก”
เพราะเหล็กสามารถใช้ได้บ่อย ใช้ซ้ำ ใช้ได้ดี รีไซเคิลได้ เป็นวัสดุที่มีประโยชน์ใช้สอยหลากหลายที่สุดในโลก และยังเป็นวัสดุที่นำมาใช้ซ้ำมากที่สุดในโลกอีกด้วย

“เหล็ก” เป็นวัสดุที่สามารถรีไซเคิลได้ 100% ซึ่งเป็นอีกหนึ่งคุณสมบัติที่โดดเด่นและเป็นเอกลักษณ์
ขั้นตอนการหลอมเหล็กด้วยเตาอาร์คไฟฟ้านั้นเป็นขั้นตอนการผลิตเหล็กที่ใช้มากที่สุดในประเทศไทย โดยจะมีเหล็กที่ใช้แล้วหรือที่เรียกว่าเศษเหล็กเป็นวัตถุดิบหลัก
เราอาจจะเคยเห็นเศษเหล็ก หรือข้าวของเครื่องใช้ที่ทำมาจากเหล็ก เช่น กระป๋องเหล็ก เครื่องใช้ไฟฟ้าเก่า โครงเสาขึ้นสนิม ตัวถังรถเก่าที่หมดสภาพ ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ไม่ได้ถูกทิ้งกองรวมอย่างไร้ประโยชน์ แต่…(เศษเหล็ก) ขยะชั้นสูงเหล่านี้จะถูกนำมารีไซเคิล ยกระดับจากขยะชั้นสูงสู่สิ่งของเครื่องใช้ใหม่ที่ยังคงเป็นสายพันธุ์เหล็กไว้เหมือนเดิม

รู้ไหมว่า..

  • การรีไซเคิลเหล็กเริ่มต้นในศตวรรษที่ 19 ใน
    เมืองใหญ่ๆ รอบโลกก่อน ตั้งแต่ลอนดอน ฮ่องกง นิวยอร์ค
  • การรีไซเคิลเหล็กช่วยลดพลังงานได้ 75% หรือเท่ากับพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ตามบ้านเรือนราว 18
    หลังคาเรือน
  • เหล็กที่ใช้ในรถยนต์ถูกนำมารีไซเคิลมากที่สุด
  • กระป๋องเหล็กแต่ละใบมีส่วนประกอบจากเหล็กที่นำมารีไซเคิล 25%
    กระป๋อง 7 ใบที่ถูกนำไปรีไซเคิล จะช่วยประหยัดพลังงานจากหลอดไฟขนาด 60 วัตต์ได้นานถึง 26 ชั่วโมง
  • เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีส่วนประกอบของเหล็ก 75% เมื่อสิ้นอายุการใช้งาน สามารถนำมารีไซเคิลได้ทั้งหมด โดยด้านในอาจประกอบด้วยเหล็กที่ใช้แล้วตั้งแต่ 25% ไปจนถึง 100%
    (ในกระบวนการรีไซเคิล สาร CFC และ HCFC ในตู้เย็น แอร์ และตู้แช่แข็งจะถูกกำจัดออกไป)
  • World Steel Association ตั้งเป้าตัวเลขที่นำมารีไซเคิลในปี 2050 ราว 38 ล้านตัน ซึ่งคิดเป็น “การลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์ถึง 54 ล้านตัน” เมื่อเทียบกับการผลิตเหล็กโดยใช้สินแร่เหล็ก

เพราะการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าเป็นหัวใจสำคัญของโลกยุคปัจจุบัน การเลือกใช้วัสดุที่สามารถรีไซเคิลได้มากที่สุด จะช่วยประหยัดพลังงาน ลดการทำลายสิ่งแวดล้อม ประหยัดค่าใช้จ่าย และที่สำคัญ ช่วยปกป้องโลก ปกป้องเรา…

(ขอบคุณข้อมูล: สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย/ สถาบันเหล็กสหรัฐอเมริกา/ World Steel Association) เครดิตภาพ : https://iiu.isit.or.th/…/Iron…/Content-3992.aspx

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น